myHealthWorld myHealthThink myHealthPeek myHealthMob License AgreementPrivacy PolicySupport Center
Product
myHealthFirst myHealthCare myHealthMob myHealthThink myHealthRoom Plug Tablet
Service
Smart Hospital Corporate Wellness Home Monitoring
Download
myHealthFirst APK
Contact
Login
หน้าร้อนออกกำลังอย่างไร ให้ปลอดภัย

หน้าร้อนออกกำลังอย่างไร ให้ปลอดภัย

         ร้อน ๆ อย่างนี้ นอกจากออกกำลังกายไม่สนุกแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด ที่ทำให้คนฟิต ๆ อย่างนักวิ่งมาราธอนหรือทหารเสียชีวิตมานักต่อนัก!
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าการออกกำลังกายในหน้าร้อนเป็นสิ่งไม่ดีหรือไม่ควรกระทำ เพียงแต่ถ้าคุณยังอยากรักษาระดับความฟิต คุณก็ควรเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องและปลอดภัย เพราะหน้าร้อนในเมืองไทยมันร้อนจริง ๆ แม้ร่างกายแข็งแรง ลมแดดก็ถามหาได้ แล้วจะออกกำลังกายอย่างไรให้ปลอดภัย? ลองมาดูกันค่ะ

1. เตรียมความพร้อม
         คุณควรออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นประจำ ถ้ามือใหม่ก็ควรออกกลางแจ้งให้ได้ 30 นาทีต่อวันนาน 1-2 สัปดาห์ พักผ่อนให้เพียงพอ และคุ้นเคยกับกิจกรรมนั้นๆ ที่ทำเป็นอย่างดี ไม่ใช่ว่าเคยแต่ปั่นจักรยานหวานเย็น จู่ๆ เปลี่ยนไปเตะบอลกับเพื่อน บุคคลที่ควรเพิ่มความระมัดระวังได้แก่ เด็ก คนชรา และคนอ้วนเพราะไขมันกันความร้อนไม่ให้เดินทางออกไป เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอลล์ทั้งก่อนหรือขณะออกกำลังกาย

2. แต่งกายให้เหมาะสม
         สวมใส่เสื้อที่ระบายอากาศได้ดี ไม่ซับน้ำหรือใส่แล้วร้อน ควรเลือกสีอ่อนเพราะสีเข้มดูดซับความร้อนมากกว่า ลองดูเป็นเนื้อผ้าที่ถ่ายเทความร้อนได้ดี ช่วยป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต เนื้อผ้าที่เหมาะสำหรับใส่กลางแจ้ง สวมหมวกที่มีน้ำหนักเบา โทนสีอ่อน เพื่อป้องกันรังสีความร้อนทำร้ายผิว บางคนอาจแย้งว่ายิ่งใส่หมวกก็ยิ่งอับและร้อนน่ะสิ ทางแก้คือให้คุณชะโลมน้ำเย็นลงบนหมวกก่อนบิดให้หมาด วิธีนี้ช่วยให้หมวกกักเก็บความเย็นได้นานขึ้น

3. อย่าขาดน้ำ
         พกน้ำเปล่าไปด้วย แนะนำว่าควรเป็นน้ำเย็นผสมน้ำแข็งปั่นในสัดส่วนน้ำแข็ง 70 % กับน้ำ 30% เพราะเป็นความเย็นที่เหมาะสม แต่อย่าเทเข้าปากทีเดียวเพราะจะทำให้จุก จิบน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ แม้ไม่กระหายน้ำ ภายในหนึ่งชั่วโมงควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณน้ำเปล่าหนึ่งขวดกลาง

4. คลายร้อนด้วยผ้าเย็น
         คอยซับหน้า คอ แขน ขา ข้อพับเข่า และใต้รักแร้ก่อนออกกำลังกาย 5-20 นาที วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อผ้าเย็นจริงๆ เพียงนำผ้าขนหนูแช่น้ำเย็นชั่วครู่หรือห่อน้ำแข็งก้อนแล้วเอาหนังสติกรัดไว้ อีกวิธีคือหาขวดน้ำเย็นเจี๊ยบขนาดเหมาะมือมาพันด้วยผ้าขนหนู อย่างนี้ก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้เช่นเดียวกัน

5. หมั่นสังเกตตัวเอง
         วิธีง่ายๆ ที่จะบอกว่าเราเป็นลมแดดหรือแค่เพลียแดดให้สังเกตว่าเรามีอาการเหล่านี้ไหม 1. ตัวร้อน 2. เหงื่อไม่ออก และ 3. มีอาการทางประสาท เช่น เบลอ กระสับกระส่าย มึนงง หน้ามืด เหล่านี้ให้สงสัยไว้ก่อนเพราะถ้าแค่เพลียแดด ร่างกายจะยังทำงานได้เป็นปกติ ยังมีเหงื่อให้เห็นและสติยังคงสมบูรณ์

โพสต์เมื่อ : 23/04/2019
บทความที่คุณอาจสนใจ