10 ความรู้อัพเดทเกี่ยวกับการรักษาโรคอ้วน ปี 2018
[1] ต้องรู้ให้ได้ว่าเราน้ำหนักเกินหรืออ้วน หากอ้วน อ้วนระดับไหน? ใช้ค่า BMI และ เส้นรอบเอวในการประเมินเบื้องต้นก่อน และใช้ค่า %ไขมันในร่างกายมาเป็นเกณฑ์ด้วยจะเยี่ยมมาก ปัจจุบันการรักษาจะแตกต่างกันออกไปตามความรุนแรงของโรคอ้วนที่เป็นครับ
[2] อาหารการกิน (Nutrition) ควรเริ่มต้นด้วยแนวทางการกินแบบลดพลังงานที่กินในแต่ละวันลง หรือ Low calories diet จะแบบ Low carb หรือ Low fat ก็ได้ แต่อยากให้เน้นที่ประเภทของอาหาร (Dietary pattern) ที่กินแล้วตัวเองชอบและกินต่อเนื่องได้นาน ๆ เช่น แบบเมดิเตอเรเนียน แบบ plant based diets เป็นต้น
[3] มีสติกำกับทุกช่วงเวลาที่กินอยู่เสมอ ที่เราเรียกว่า Mindful Eating
[4] อย่านั่งติดที่ ติดเก้าอี้นาน ๆ ควรขยันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายในระหว่างวัน ออกกำลังกาย 3-5 วัน/สัปดาห์ ครั้งละ 30-60 นาที ออกวันเว้นวัน ออกผสมผสานกันทั้งเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ เล่นเวท ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
[5] หมั่นดูแลสุขภาพลำไส้ ระบบการขุบถ่ายให้ดีอยู่เสมอ ทานผัก ผลไม้สดเป็นประจำ ลดการทานเนื้อแดง หรือ อาหารแปรรูป อาหารฟาสฟู้ดบ่อย ๆ
[6] นอนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง/คืน เข้านอนเร็ว ตื่นนอนเป็นเวลาทุกวัน
[7] งดบุหรี่ / งดแอลกอฮอล์ หรือ ดื่มได้แต่เพียงเล็กน้อย
[8] พยายามเครียดให้น้อย ๆ สร้างอารมณ์ขัน อารมณ์ดีให้ตัวเองมากขึ้น
[9] อาหารเสริมลดน้ำหนัก หรือ แม้แต่ยารักษาโรคอ้วนสามารถใช้ได้หากมีข้อบ่งชี้ตามแพทย์แนะนำ
[10] การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักนั้น ในปัจจุบันสามารถทำได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ ตามแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด
ขอขอบคุณ :
บทความโดย นพ.เสฏฐวุฒิ งามเมธิชัยวงศ์ (หมอตั้ม)
แพทย์วุฒิบัตรด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและสมาคมเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ประเทศสหรัฐอเมริกา (American Board of Anti-Aging and Regenerative Medicine)
เจ้าของผลงานหนังสือ Best seller 2 เล่ม “Anti-Aging รู้ก่อนใครชะลอวัยก่อนเพื่อน” ปี 2559 และ “กู้ร่างกลับฉบับชะลอวัย” ปี 2560