โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อย และคนส่วนใหญ่ก็มักไม่รู้ว่าตัวเองเป็น ซึ่งหากปล่อยไว้และเป็นนาน ๆ เข้า อาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนและโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย มารู้จักโรคนี้กัน เพื่อที่จะได้ดูแลตัวเองอย่างถูกต้องต่อไป
ความดันโลหิต คือ อะไร?
ความดันโลหิต คือ ค่าความดันภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ ส่งผ่านหลอดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีสองค่าคือ คือค่าความดันตัวบน เป็นค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัว และค่าความดันตัวล่าง เป็นค่าความดันขณะที่หัวใจคลายตัว
โรคความดันโลหิตสูง สำคัญอย่างไร?
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ป่วยเกินกว่าครึ่งมักจะไม่มีอาการใดๆ จึงเป็นภัยเงียบที่กว่าจะรู้ตัวว่ามีความดันโลหิตสูง ก็เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นแล้ว โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนา ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมองตีบหรือแตกเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น การที่เรารู้ตัวว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะแรกๆ สามารถควบคุมความดันโลหิตที่สูงให้กลับมาสู่ระดับปกติได้ ก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
มากกว่าร้อยละ 90 ไม่มีสาเหตุ มีเพียงส่วนน้อยที่มีสาเหตุ เช่น โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด โรคไต โรคของหลอดเลือดบางประเภท ที่ทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีความดันโลหิตสูง มีหลายปัจจัย เช่น อายุ เพศ พันธุกรรม เชื้อชาติ ภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วน และการรับประทานอาหารเค็มจัด เป็นต้น
ความดันโลหิตเท่าไหร่ดี?
ปัจจุบัน ค่าความดันโลหิตที่ยอมรับได้ในผู้ที่อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ควรต่ำกว่า 150/90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าอายุน้อยกว่า 60 ปี หรือเป็นเบาหวาน หรือมีภาวะไตเสื่อม ค่าความดันโลหิต ควรต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูง
จากการการศึกษาที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าการให้ยาลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกรายควรจะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยาร่วมด้วย ดังนี้
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่มีอาการแต่อันตราย ดังนั้นเมื่อท่านตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูงแล้ว ควรมาพบแพทย์ตามนัด รับประทานยาสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตามมา
ติดตามข่าวสารสุขภาพและนวัตกรรมด้านสุขภาพ ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/myhealthfirstofficial
tiktok : @myhealthfirst_mhf