myHealthWorld myHealthThink myHealthPeek myHealthMob License AgreementPrivacy PolicySupport Center
Product
myHealthFirst myHealthCare myHealthMob myHealthThink myHealthRoom Plug Tablet
Service
Smart Hospital Corporate Wellness Home Monitoring
Download
myHealthFirst APK
Contact
Login
มะเขือเปราะ ผักพื้นบ้าน กินดี มีประโยชน์

มะเขือเปราะ ผักพื้นบ้าน กินดี มีประโยชน์
         ตั้งเเต่อดีตมาเรามีการนำพืชผักสมุนไพรมาช่วยชูรสอาหาร อย่างเช่น "มะเขือเปราะ" ก็เป็นมะเขืออีกชนิดหนึ่งที่เรานิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวาน แกงป่า หรือบางคนก็นิยมกินสดๆ จิ้มน้ำพริก หรือใส่ในยำต่างๆ ก็ได้รสอร่อยเช่นกัน  

         มีงานวิจัยที่พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อ เรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด และยังลดปริมาณน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย โดยสารสกัดจากมะเขือเปราะนั้นจะออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน โดยช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 2 วิตามินซีอีกด้วย

ประโยชน์ของมะเขือเปราะ

  • ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด 
  • บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเขือเปราะมีสรรพคุณคล้ายกับอินซูลินลดปริมาณน้ำตาลในเลือด คนเป็นเบาหวานที่มีมะเขือเปราะเป็นผักคู่ใจเลยอาการดีวันดีคืน 
  • ช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ 
  • ช่วยให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดี 
  • มีประโยชน์ต่อตับอ่อน ทำให้ตับแข็งแรงทำงานได้มีประสิทธิภาพ

โทษของมะเขือเปราะ ทานเยอะไป ก็อันตรายได้นะ

         แม้มะเขือเปราะจะมีประโยชน์อยู่เพียบ แต่หากทานในปริมาณมากหรือทานติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้มีอาการปวดขาได้เหมือนกัน เพราะในมะเขือเปราะมีสารโซลานิน (SOLANINE) ซึ่งเป็นสารที่ถ้าร่างกายเราสะสมไว้หลาย ๆ วัน จะไปรวมตัวกับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) แล้วเกาะอยู่ตามข้อต่อ ทำให้เราปวดขา ปวดข้อ หรือเป็นตะคริวได้ค่ะ 
ทั้งนี้สารนี้มักพบในผักดิบหลายชนิด เช่น มะเขือชนิดต่าง ๆ บวบ แตงกวา มันฝรั่ง พริกหวาน แต่ก็ไม่ต้องกังวลมากเกินไป เพราะอาการแบบนี้มักจะเกิดขึ้นแต่กับคนที่แพ้สารนี้เท่านั้นค่ะ หรือหากใครป่วยโรครูมาตอยด์ ก็ควรทานพืชกลุ่มนี้แต่น้อยดูก่อน แล้วลองสังเกตตัวเองดูว่า ทานแล้วมีอาการปวดมากขึ้นหรือไม่ เพื่อจะได้ระวังและหลีกเลี่ยง เช่น เปลี่ยนไปทานแบบสุกแทนค่ะ

         ของทุกอย่างมีทั้งประโยชน์และโทษ มากไปก็ไม่ดี น้อยไม่ก็ไม่ดี เราควรอยู่ในจุดของความพอดี เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีนะค่ะ

ข้อมูลบางส่วนจาก : สมุนไพรไทย

โพสต์เมื่อ : 09/05/2018
บทความที่คุณอาจสนใจ