หากคุณนั่งหลังงอ ห่อไหล่ ก้มหน้าเพื่อมองจอคอมพิวเตอร์หน้าโต๊ะทำงานอยู่บ่อย ๆ เป็นเวลานานๆ รู้หรือไม่ว่าท่านกำลังเสี่ยงต่ออาการปวดหลัง ปวดร้าวที่สะโพกหรือขา อาจปวดมีลักษณะแหลมเหมือนโดนมีดแทง ปวดหน่วงและหนักที่ขา หรือมีอาการเหน็บชา อีกทั้งมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
การนั่งทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้องนอกจากจะเป็นสาเหตุของการปวดหลังเรื้อรังแล้ว ยังทำให้เสียบุคลิกภาพ กลายเป็นคนหลังโก่งทั้งเวลายืน เดิน นั่ง
ท่านั่งที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร
ในชีวิตประจำวันของคนเรา นอกจากการนอนหลับ 8 ชั่วโมงเวลาที่เหลือส่วนใหญ่จะใช้กับการนั่ง ไม่ว่าจะนั่งทำงาน นั่งเรียน นั่งรถ นั่งทานอาหาร หรือนั่งดูโทรทัศน์ ดังนั้นหากเรานั่งไม่ถูกวิธีก็เสี่ยงมากต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคปวดหลัง ปวดเอว ปวดต้นคอในอนาคต เพื่อสุขภาพดีที่ดีของเราเอง เราควรศึกษารู้วิธีการนั่งที่ถูกต้องสำหรับเก้าอี้นั่งแต่ละแบบเพื่อปรับการนั่งของตนเองให้ถูกต้อง
ท่านั่งบนเก้าอี้เตี้ย เก้าอี้สตู หรือการนั่งทั่วๆ ไปที่ไม่มีพนักพิงหลัง
ท่านั่งบนเก้าอี้สูง หรือเก้าอี้ออฟฟิศที่มีพนักพิงหลัง
ท่านั่งบนโต๊ะเก้าอี้ทำงานที่บ้านหรือที่ทำงาน
1 ตำแหน่งที่ถูกต้องของหลังคือนั่งให้หลังตรง แนบไปกับพนักพิง ไม่โน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อก้มมองจอคอมพิวเตอร์ เพราะการงอหลัง และก้มหน้าก่อให้เกิดอาการตึงที่ช่วงหลัง การหายใจไม่สะดวก นั่งไปนานๆ จะทำให้เมื่อย เหนื่อย อึดอัด หากฐานนั่งเก้าอี้กว้างมาก แนะนำให้หาหมอนมาหนุนรับส่วนโค้งบริเวณหลังส่วนล่าง เพื่อขยับลำตัวและหลังให้ตั้งตรงโดยที่ขาไม่ลอยจากเก้าอี้
2 ตำแหน่งที่ถูกต้องของขาและเท้าคือวางเท้าให้ราบกับพื้นทั้ง 2 ข้าง ช่วงขาตั้งฉากกับพื้นโดยทิ้งน้ำหนักลงบนฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ไม่ควรทิ้งนำหนักไว้ที่ส้นเท้า (นั่งเหยียดขา) หรือปลายเท้า (นั่งเขย่งเท้า) หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง หรือไขว้ขา ซึ่งทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก นอกจากความปวดเมื่อยขาแล้ว ยังเป็นสาเหตุของการเกิดเส้นเลือดขอดได้
3 ตำแหน่งที่ถูกต้องของสายตาคือให้สายตาอยู่ในระดับเดียวกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือทำมุมประมาณ 10 องศา โดยไม่รูสึกว่าต้องเงยหน้าขึ้น หรือก้มหน้าลงในการมองหน้าจอ เพื่อลดอาการตึง เกร็งบริเวณกล้ามเนื้อบ่าและคอ ลดอาการเมื่อยล้าบริเวณลำคอ ต้นคอ หากจอคอมไม่สามารถปรับระดับได้ แนะนำให้หาหนังสือมาหนุนเพื่อเพิ่มระดับความสูงของจอคอมพิวเตอร์ให้พอดีกับสายตา
4 ตำแหน่งที่ถูกต้องของแขนในการใช้คีย์บอร์ดคือ ต้องเก็บศอกทั้งสองข้างให้ชิดกับลำตัว ให้ส่วนของข้อมือกับข้อศอกอยู่ในแนวเส้นตรง ทำมุม 90 องศากับไหล่ เพื่อผ่อนคลายหัวไหล่ ช่วยให้ไหล่ไม่ตก หลังไม่งออีกด้วย
5 ตำแหน่งที่ถูกต้องของข้อมือคือวางระนาบกับคีย์บอร์ดหรือแป้นกด ไม่บิดข้อมือขึ้น หรือกดข้อมือต่ำจนเกินไปเพื่อลดการกดทับเส้นประสาทและหลอดเลือดบริเวณข้อมือขณะพิมพ์ เพราะอาจทำให้เมื่อย ชาและปวดข้อมือได้
หากการทำงานไม่สามารถเลือกเก้าอี้หรือโต๊ะทำงานให้เหมาะกับสรีระ ความสูง-ต่ำของแต่ละคนได้ ควรนำเทคนิคต่างๆ ที่น่าสนใจในวีดีโอนี้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อท่านั่งที่ถูกต้อง แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ และเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี สุขภาพที่ดีแก่ตัวเราเองนะคะ
บทความโดย sukkaphap-d